วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 4


ตลาดนัดความรู้ : กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม. 4 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง
การคิดและพัฒนาอย่างมีเหตุผล เป็นหัวใจสำคัญของวิทยาศาสตร์
คุณครูภักดี รัชตวิภาสนันท์ : กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม. 4 ได้มีแนวคิดเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นตลาดนัดความรู้เพื่อไม่ให้ปิดกั้นความรู้ของนักเรียน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่าการสอนให้ท่องจำ โดยนำทฤษฎีพหุปัญญาและเน้นให้นักเรียนคิด
วิธีการสอนแบบตลาดนัดความรู้
1.       การให้เด็กเลือกเรื่องที่สนใจ
2.       ครูแนะนำแหล่งการเรียนรู้ และที่ๆเก็บข้อมูลมาได้
3.       สืบค้นข้อมูลจากสถานที่จริงหรือสอบถามจากผู้รู้
4.       ออกแบบการทดลอง
5.       จัดร้าน/บูธของตนเอง
6.       นักเรียนนำเสนอผลงาน แต่ละกลุ่มต้องมีผู้อธิบาย  1 คนและเพื่อนที่เหลือต้องไป Shopping ความรู้กับกลุ่มอื่นแล้วบันทึกความรู้ที่ได้รับและนำความรู้นั้นมาเล่าให้เพื่อนที่เป็นผู้อธิบายฟัง
7.        แต่ละกลุ่มสรุปความรู้ร่วมกัน
8.       แต่ละกลุ่มตั้งคำถามจากความรู้ที่ได้มา
9.       ทดสอบความรู้โดยตอบคำถามที่นักเรียนตั้งขึ้น
ประโยชน์
1.       ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
2.       ช่วยให้เด็กได้มีประสบการณ์จริงและได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในกลุ่ม
3.       ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
การเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมตลาดนัดความรู้นี้ เป็นวิธีการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยวิธีการสอนแบบให้ผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วยตนเองและมีประสบการณ์จริงจากแหล่งการเรียนรู้จริงเพื่อคำตอบที่มั่นคงและถาวร และเป็นการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สอนกันเองโดยมีครูทำหน้าที่ในการช่วยเหลือในบางอย่าง

การพัฒนาครู


เมล็ดพันธ์ครู : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทบาทของครู
1.ทำหน้าที่สอน
2.ทำวิจัย
3.เขียนตำรา
และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
ในปัจจุบัน พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่มีปัญหาคือ อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้
รศ.ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ จึงคิดการสอนเรียนเขียนอ่านด้วย EKKE (เอ็กเก้) ขึ้นสำหรับเด็ก ป.1
การจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบ EKKE
1.       Experience building ขั้นสร้างประสบการณ์ การเลือกหนังสือหรือนิทานที่เหมาะกับเด็ก ป.1 และเหมาะกับการใช้คำ และต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันหรือบริบทของเด็กของเด็กเพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เก่าและใหม่เข้าด้วยกัน เพื่อให้เด็กเข้าใจมากขึ้น และครูต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กด้วย เช่น การถามคำถาม การยกตัวอย่าง และนำนักเรียนอ่านหนังสือทุกคำทุกคำเพื่อการจำคำมากขึ้นและกิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น
2.       Knowledge development  ขั้นพัฒนาความรู้ โดยให้เด็กจำคำและหัดอ่านคำ และการใช้วาดแผนภาพเข้ามาช่วยในการเข้าใจ
3.       Knowledge application ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ให้เด็กออกมาอ่านคำง่ายๆ และฝึกให้นักเรียนแต่งประโยคจากภาพ
4.       Evaluation ขั้นประเมินผล ต้องประเมินตามสภาพจริง สังเกตพฤติกรรมการเรียนโดยทักษะ 5 ทักษะ คือ การอ่าน การเขียน  การฟัง การดูและการพูด
ประโยชน์
1.       ใช้ในการเรียนการสอนที่เน้นการสอนแบบ EKKE
2.       ใช้การสอนเรียนเขียนอ่านนี้มาช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
3.       ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย
การเรียนการสอนแบบ EKKE นี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสนุกกับการจัดกิจกรรมนี้ด้วย และวิธีการเรียนการสอนนี้ยังได้ประสบผลสำเร็จด้วย ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าการเรียนการสอนรูปแบบปัจจุบัน ผู้ที่สนใจอาจเข้าชมวิดีโอนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียนได้มากขึ้น